THAILAND QUALITY CONFERENCE & The Symposium on TQM Best-Practices in Thailand
การประชุม Symposium on TQM-Best Practices in Thailand จัดขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนมุมมองและ ประสบการณ์ของผู้ประยุกต์ใช้ TQM ในประเทศไทย แล้วเกิดผลสำเร็จ เพื่อแสวงหาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดนำมา ขยายผลให้เป็นที่รับรู้และ เรียนรู้กันอย่างกว้างขวาง โดยจัดขึ้นครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2543
วัตถุประสงค์
รูปแบบการประชุม
- เพื่อให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติในองค์กรที่ได้นำระบบบริหารทีคิวเอ็มมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ได้นำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งกันและกันเกี่ยวกับ แนวคิด เทคนิค วิธีการ ประสบการณ์ อุปสรรค ปัญหา ตลอดจนแนวทาง วิธีการแก้ไขในการนำทีคิวเอ็มมาประยุกต์ใช้เพื่อแสวงหา "แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (The Best Practices)" ในแต่ละสาขาของ การบริหาร
- เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นและความมีประสิทธิผลในการส่งเสริมทีคิวเอ็มให้แพร่หลาย อย่างรวดเร็วในประเทศไทยและก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐ สมาคม สถาบัน และบริษัท ที่ปรึกษา ฯลฯ ที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริมทีคิวเอ็มอยู่ในประเทศไทย
- เพื่อก่อให้เกิดการสะสมและถ่ายทอดประสบการณ์ของผู้ที่ประสบความสำเร็จในการนำทีคิวเอ็มมาประยุกต์ใช้ให้เป็นที่รับรู้และเรียนรู้กันอย่างกว้างขวางทั้งในแวดวงธุรกิจ และวิชาการ ด้านอุตสาหกรรมการผลิต การบริการ การศึกษา และการบริหารของภาคเอกชน และภาครัฐบาล
การประชุมแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 การประชุมทางวิชาการ แบ่งเป็น 7 สาขา
- การนำองค์กร: การกำหนดทิศทางและความคาดหวัง การจัดองค์กรนำกระบวนการนำวิธีการ พัฒนาผู้นำที่มีคุณภาพ การสร้างค่านิยม คุณภาพในองค์กร องค์กรแห่งการเรียนรู้ ความรับผิดชอบต่อชุมชนและสาธารณะ ฯลฯ
- การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Hoshin Kanri) และการจัดการนโยบาย (การบริหารเข็มมุ่ง): กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์กระบวนการนำแผนเชิงกลยุทธ์ ไปสู่การปฏิบัติกระบวนการจัดการทิศทางและเป้าหมายหลักประจำปี การตรวจวินิจฉัยโดยผู้บริหารระดับสูง ฯลฯ
- การเอาใจใส่ลูกค้าและตลาด: ความรู้เกี่ยวกับความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าและตลาดเทคนิคและวิธีการหาความต้องการ และการประเมิน ความพึงพอใจของลูกค้า การเปรียบเทียบความสามารถในการแข่งขัน การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า การรักษาลูกค้า ฯลฯ
- การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้: การจัดการสารสนเทศ การใช้เทคนิคทางสถิติ การใช้เครื่องมือคุณภาพ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ฯลฯ
- การเอาใจใส่ทรัพยากรบุคคล: การออกแบบระบบงานที่มีคุณภาพสูง เทคนิคและระบบการจูงใจ พนักงาน การส่งเสริมกิจกรรมการมีส่วนร่วมปรับปรุงคุณภาพ (5ส QCC KYT ฯลฯ) ระบบการฝึกอบรม และพัฒนาบุคลากร การยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานการประเมินผลการปฏิบัติงาน ฯลฯ
- การจัดการกระบวนการ: กระบวนการสร้างคุณค่า กระบวนการหลัก กระบวนการสนับสนุน การจัดการ สมรรถนะของผู้ส่งมอบ การจัดการระบบมาตรฐาน เทคนิคการจัดทำเอกสารคู่มือปฏิบัติงาน การจัดการ การปฏิบัติงานประจำวัน การปรับปรุง อย่างต่อเนื่อง เทคนิคการแก้ปัญหา และป้องกันมิให้เกิดซ้ำ Reengineering, Benchmarking, SPC, SQC, QFD, FMEA, DOE, etc.
- การประยุกต์ระบบมาตรฐานต่าง ๆ เข้ากับการบริหารจัดการ: บทเรียนจากการประยุกต์มาตรฐานระบบ ISO 9000, ISO 14000, มอก. 18000, SA 8000 ฯลฯ ตัวอย่างเช่น การประยุกต์ รวมหลายระบบเข้าเป็นหนึ่งเดียว การใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงการบริหารจัดการ
ส่วนที่ 2 การจัดนิทรรศการโดยองค์กรต่าง ๆ
การนำเสนอ :
นำเสนอ 20 นาที
สรุปข้อคิดเห็นโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 นาที
ตอบคำถาม 5 นาที